อธิการบดี สจล.แนะแก้มลิง และระบบท่อระบายน้ำท่วม แก้ปัญหาน้ำท่วมอุบลได้
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สจล.แนะ “แก้มลิง และระบบท่อระบายน้ำท่วม” แก้ปัญหาน้ำท่วมอุบลได้
https://www.facebook.com/suchatvee.ae/
“แก้มลิงและระบบท่อ จะแก้น้ำท่วม อย่างยั่งยืน”
เกิดอะไรขึ้นที่อุบล พี่เอ้ในฐานะนายกสภาวิศวกร มีคำตอบ
กรณีน้ำท่วมใหญ่ที่อุบล จนเกิดความสูญเสียมหาศาล เป็นผลมาจาก
1. ฝนตกหนักมาก และกระจุกตัว
ยอมรับเสียทีนะครับว่า โลกใบนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ธรรมชาติเอาคืน!! ฤดูฝนก็เปลี่ยนไป ฝนไม่ตกตอนต้นฤดู แต่สะสมมาตกหนักสุดๆ ตอนปลายฤดู! มาหนักมาก และตกหนักกระจุกตัวเป็นเฉพาะพื้นที่!!
เขื่อนเก็บน้ำไว้มากก็อันตราย ก็ต้องปล่อยไหลต่อๆกันมา จังหวัดอุบลอยู่ปลายทางก่อนถึงแม่น้ำโขง น้ำก็มาจากทุกทิศทาง เอาไม่อยู่ รับไม่ไหว
แก้ไขโดย
- ระบบการพยากรณ์อากาศต้องแม่นยำ วันนี้เทคโนโลยีทันสมัยกว่าก่อนมาก หากรู้ล่วงหน้า ก็สามารถคำนวณประมานปริมาณน้ำได้ และเมื่อเราก็รู้ว่าแม่น้ำ และพื้นที่รับน้ำมีเท่าไหร่อยู่แล้ว เปรียบเทียบกัน จึงเตือนล่วงหน้าได้เลยว่า “น้ำมามากกว่าพื้นที่รับน้ำ” จะได้หาทางแก้ไข และเตรียมอพยพ ความสูญเสียก็จะน้อยลง
2. น้ำมา จนล้นตลิ่ง ทะลักเข้าเมือง
แม่น้ำในประเทศไทย ถูกบุกรุกมากด้วยการเติบโตของชุมชนเมือง และยังเกิดการทับถมของดินจนตื้นเขิน จึงรับปริมาณน้ำได้น้อยลงทุกปี ขณะที่ฝนตกหนักขึ้นทุกปี!!! แบบนี้ก็ลำบาก
แก้ไขโดย
- ทำคันตลิ่งให้สูงขึ้น บริเวณพื้นที่เสี่ยง เข่น ใจกลางเมือง และ พื้นที่เกษตรกรรมที่อ่อนไหว ในต่างประเทศก็ทำคันดินสูงมานานเป็นร้อยๆปี ทั้งประเทศเนเธอร์แลนด์ที่น้ำทะเลสูงกว่าบ้านเมืองตั้ง 3 เมตร เมืองนิวส์ออลีน มลรัฐหลุยเซียน่า สหรัฐอเมริกา พี่เอ้ไปมา เห็นคันดินสูงกว่าหลังคาบ้าน เราก็ต้องทำ ไม่เช่นนั้น น้ำก็ล้นตลิ่งเจ้ามาท่วมอีก โดยเฉพาะจังหวัดปลายน้ำ เช่น กรุงเทพ และอุบลราชธานี
ที่ กทม. ลองสังเกตดู จะมีคันสูงป้องกันแถวสีลม สาธร ป้องกันน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาทะลัก ก็สูงกว่าถนนสุขุมวิทร่วม 2 เมตร
3 เมืองอุบลราชธานีเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำขังได้ง่าย
จะแก้ปัญหาน้ำท่วม ต้องเข้าใจพื้นที่ เนื่องจากเมืองอุบล เป็นแอ่งกะทะคล้ายกทม. ฝนตกน้ำก็ขังง่าย ต้องพึ่งระบบสูบน้ำขึ้น แม่น้ำมูล คล้ายกทม. ที่ต้องสูบน้ำขึ้นเจ้าพระยา ฝนตกไม่นาน น้ำก็ท่วมแล้ว
แก้ไขโดย
- ไม่ต่างจากกทม. ระบบสูบน้ำที่ดียังจำเป็นที่สุด!! เพื่อสูบน้ำขึ้นแม่น้ำให้ระบายต่อไป ปัจจุบันต้องใช้ระบบอัตโนมัติ ต่างประเทศก็ใช้กันมานาน ลดปัญหาความผิดพลาดจากมนุษย์
4. ไม่มีทางระบายน้ำเพียงพอ จากการพัฒนาเมืองรอบด้าน
เมื่อเมืองขยายตัวแบบไร้การควบคุม ผังเมืองก็ไม่พร้อม พื้นที่รองรับน้ำก็หายไปทุกวัน ฝนตกหนัก บวกกับน้ำล้นตลิ่ง น้ำก็ท่วม!! เพราะไม่มีทางไป ไม่มีที่นองรับน้ำ
แก้ไขโดย
- ในหลวงร.9 ทรงพระราชทานแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วม ด้วย “แก้มลิง” ทรงแนะทำพื้นที่แอ่ง บึง ทะเลสาบเล็กๆ ในสวนสาธารณะก็ได้ เป็นพื้นที่รองรับน้ำ เมื่อฝนตกหนัก น้ำมาก ก็ผันมาเก็บไว้ วิธีแก้มลิง ยังไงก็ใช้ได้เสมอ!!
- ถ้าในอดีตหลายสิบก่อน อาจแนะนำให้ขุดคลอดระบายน้ำ ผันน้ำล้นจากแม่น้ำ แต่วันนี้ ไม่มีพื้นที่จะสร้าง!! เพราะมีแต่อาคารบ้านเรือนเต็มเมือง
ดังนั้นต้องใช้ “ระบบท่อ” เครือข่ายวางใต้ดิน ระบายน้ำแทน วางใต้ถนนในเมือง ทำง่าย ไม่แพง ไม่เสียพื้นที่ ไม่ต้องเวนคืน!!
ชาวบ้านไม่เดือดร้อน เชื่อมแม่น้ำกับแก้มลิง พอน้ำในแม่น้ำสูงเกินมาตรฐานก็รีบระบายตามระบบท่อใต้ดิน ไปเก็บไว้ที่แก้มลิง
ในหน้าแล้ง (ที่กำลังมา) ก็ใช้น้ำจากแก้มลิง ช่วยในเรื่องชลประทานได้อีก!!
วันนี้คนไทยต้องช่วยกัน เพราะหากไม่ทำอะไร อนาคตก็ท่วมอีก!!!
ปัญหา เมื่อเข้าใจถ่องแท้ ก็แก้ได้ครับ จะทำก็ทำได้ครับ