สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ
ครั้งแรก! สจล. ผนึก NICT ประเทศญี่ปุ่น จัดตั้ง “สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ” ณ สจล.ชุมพร หนุน “ระบบนำทาง GPS –GNSS” เพื่ออุตสาหกรรมการบิน การระบุตำแหน่งแม่นยำสูง พร้อมแจ้งเหตุผิดปกติก่อนใคร!
26 พฤศจิกายน 2562 – สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผนึก สถาบันวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ประเทศญี่ปุ่นเตรียมจัดสร้าง “สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ” แห่งแรกของไทย ณ สจล. วิทยาเขตชุมพรฯ รุกตรวจจับพลาสมาบับเบิลและสภาพอวกาศที่ผิดปกติ พร้อมแจ้งเหตุถึงสถานีทั่วโลก-เครื่องรับสัญญาณ GNSS ก่อนใคร! ด้วยโลเคชั่นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรโลกอันดับหนึ่ง หนุนลดความเสียหายทั้งในชีวิต ทรัพย์สินและอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ เครื่องบินแลนด์ดิ้งผิดตำแหน่ง อากาศยานไร้คนขับเคลื่อนที่ผิดเส้นทาง ฯลฯ
โดยชุมพรเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ดีที่สุดในโลกในการติดตั้งเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ เนื่องจากพื้นที่กว้างพร้อมอุปกรณ์ครบครัน มีที่ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก และมีเครื่องข่ายสถานีสังเกตการณ์สภาพอวกาศที่ลองติจูดเดียวกัน โดย สจล. มีแผนจัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้าน GNSS และสภาพอวกาศในปี 2020
ทั้งนี้ สจล. และสถาบัน NICT ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมจัดงานแถลงข่าวเตรียมจัดตั้ง “สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ” ครั้งแรกของไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ณ สำนักหอสมุดกลาง สจล.