เครื่องจ่ายออกซิเจน KMITL High Flow พร้อมระบบมอนิเตอร์ทางไกล

 

ทำสำเร็จ !! สจล. เปิดตัว “เครื่องจ่ายออกซิเจน KMITL High Flow” พร้อมระบบมอนิเตอร์ทางไกล

ได้รับออกแบบมาเพื่อรับมือโควิดระลอกใหม่โดยเฉพาะ ราคาถูกกว่านำเข้ากว่า 3-4 เท่า

“เครื่องจ่ายออกซิเจน KMITL High Flow” โดยทีมนักวิจัย สจล.

สามารถช่วยผู้ป่วยเพิ่มระดับออกซิเจนได้ตั้งแต่ 21 - 100% พร้อมโหมดการตรวจทางไกล ผ่านแอปพลิเคชัน !

 

          สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ทำสำเร็จครั้งแรก! เปิดตัว ต้นแบบ “เครื่องจ่ายออกซิเจน KMITL High Flow” เครื่องจ่ายออกซิเจนในอัตราการไหลสูง ที่มาพร้อมระบบมอนิเตอร์ทางไกล และได้รับการออกแบบมาเพื่อรับมือโควิดระลอกใหม่โดยเฉพาะ มีราคาถูกกว่านำเข้ากว่า 3-4 เท่า โดยระบบดังกล่าวมีจอแอลซีดีแสดงข้อมูลสำคัญของผู้ป่วยทั้ง อัตราการไหลของอากาศ ปริมาณออกซิเจน อุณหภูมิของอากาศ ผลออกซิเจนในกระแสเลือด ฯลฯ ซึ่งนอกจากให้ประสิทธิภาพช่วยพยุงการหายใจของผู้ป่วยปอดอักเสบ และภาวการณ์หายใจบกพร่อง ยังช่วยให้แพทย์ติดตามภาวะการหายใจล้มเหลวได้ตลอดเวลา สามารถปรับการทำงานของเครื่องได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดูผู้ป่วยถึงเตียง หนุนเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในพื้นที่เสี่ยง ทั้งนี้ เครื่องดังกล่าวมีต้นทุนการพัฒนาที่ 55,000 บาท โดยปัจจุบันมีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตรสู่เชิงพาณิชย์กับสำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง (KRiS)

          ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า สจล. ได้เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อรองรับวิกฤตโควิด-19 นับตั้งแต่ระลอกแรกจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการคิดค้นและลงมือสร้าง “เครื่องช่วยหายใจ” ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยอาการหนัก ผ่านการผนวกรวมศาสตร์ความรู้ทางการแพทย์และวิศวกรรม โดยเริ่มที่เครื่องช่วยหายใจในภาวะฉุกเฉิน (Mini Emergency Ventilator) เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อในปอดในภาวะฉุกเฉิน ทั้งอยู่ระหว่างการส่งตัว หรือรอเข้ารับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจของโรงพยาบาล และต่อเนื่องกับเครื่องช่วยหายใจในภาวะฉุกเฉินขนาดเล็ก (Transport Ventilator – KNIN) ที่ออกแบบให้สามารถใช้งานง่ายต่อการเคลื่อนย้ายในกรณีฉุกเฉิน และรองรับการทำงานได้หลายโหมด ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาออกมารวม 4 รุ่น ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สจล. ได้ส่งมอบนวัตกรรมทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขทั่วประเทศมากกว่า 300 แห่ง เป็นจำนวนกว่า 1,000 ชิ้น

 

          ล่าสุด นักวิจัย สจล. ได้คิดค้นและพัฒนาต้นแบบ “เครื่องจ่ายออกซิเจน KMITL High Flow” เครื่องจ่ายออกซิเจนในอัตราการไหลสูงเป็นครั้งแรก ที่มาพร้อมระบบมอนิเตอร์ทางไกล มุ่งลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ให้น้อยลง ลดภาระงานและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเดินเข้า-ออกบริเวณหอผู้ป่วย ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในส่วนอื่นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และในอนาคตอันใกล้นี้ สจล. ยังมีแผนพัฒนา “ตู้เก็บวัคซีน” ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและคงประสิทธิภาพของวัคซีน โดยที่บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สามารถติดตามอุณหภูมิและความเย็นได้ 24 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นการตอกยํ้าวิสัยทัศน์ของสถาบัน ในฐานะ The World Master of Innovation สู่การขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขและการแพทย์ไทย ภายใต้แนวคิด “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยรอด” เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถผ่านพ้นวิกฤตนี้และเริ่มต้นใช้ชีวิตวิถีใหม่ไปพร้อมกัน

          นพ.อนวัช เสริมสวรรค์ รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) นักวิจัยร่วม “เครื่องจ่ายออกซิเจน KMITL High Flow” กล่าวเสริมว่า เครื่องดังกล่าวมีคุณสมบัติเพื่อการพยุงการหายใจของผู้ป่วย โดยแพทย์จะกำหนดอัตราไหลเวียนอากาศ ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ต้องการ ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ผ่านทางจมูก (Nasal Cannula) ได้อย่างเหมาะสมและสมํ่าเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอากาศที่มีความเข้มข้นของออกซิเจนที่แน่นอน ถูกต้อง ป้องกันการหายใจซํ้าจากอากาศที่ค้างอยู่ในทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานเครื่องจ่ายออกซิเจนอัตราการไหลสูง อีกทั้งยังมีความพิเศษเพิ่มเติม คือ ได้พัฒนาเทคโนโลยีไอโอที (IoT) เข้ามาทำงานร่วม ซึ่งช่วยให้บุคลาการทางการแพทย์ สามารถควบคุมและติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยทางไกลได้ตลอดเวลา โดยสามารถปรับเปลี่ยนการช่วยการหายใจโดยไม่ต้องเดินไปถึงข้างเตียง ผ่านแอปพลิเคชันซึ่งนอกจากจะประเมินผู้ป่วยได้ตลอดเวลา ยังลดการใช้ชุด PPE และลดความเสี่ยงของบุคลากรต่อการติดเชื้อทางอากาศเมื่อเดินเข้าหอผู้ป่วย ซึ่งเครื่องดังกล่าวจะมีเสียงแจ้งเตือนเมื่อผู้ป่วยมีภาวะออกซิเจนตํ่าเกินไป

               “และในอนาคตอันใกล้ ทีมวิจัยเตรียมพัฒนาเครื่องดังกล่าว ให้สามารถวิเคราะห์หรือปรับความความเข้มข้นของออกซิเจนได้ ตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะออกซิเจนในเลือด ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะใช้ปัญญาประดิษฐ์ในเครื่องมือแพทย์อนาคตของ สจล. ทุกชิ้น”

          รศ. ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) กล่าวต่อเนื่องว่า การพัฒนา “เครื่องจ่ายออกซิเจนในอัตราการไหลสูง KMITL High Flow” เน้นการ ออกแบบให้ ตอบโจทย์การใช้งานได้ทั้งในโรงพยาบาลสนามและโรงพยาบาลเฉพาะทาง โดยมีหลักการนําอากาศจาก แหล่งกําเนิดออกซิเจนไม่ว่าจะเป็นท่อนําออกซิเจนหรือแทงค์ออกซิเจน 100% มาผสมกับอากาศสะอาด (ออกซิเจน 21%) ผสม กันได้ความเข้มข้นที่ต้องการในห้องผสมอากาศ (Air Tank) โดยหากใช้อากาศจากในหอผู้ป่วยก็จะมีแผ่นกรองอากาศ HEPA Filter ซึ่งเมื่ออากาศถูกดูดเข้าสู่ห้องผสมอากาศ จะมีวาล์วจ่ายออกซิเจนที่ถูกควบคุมแบบป้อนกลับเพื่อควบคุมให้อัตรา ออกซิเจนคงที่เป็นไปตามการรักษา โดยปรับได้ในช่วง 21-100% ความแรงของพัดลมจะถูกควบคุมด้วยเซนเซอร์วัดอัตราการ ไหลซึ่งจะถูกควบคุมให้อยู่ในช่วง 10-80 ลิตรต่อนาที นอกจากนี้ ค่าพารามิเตอร์ดังกล่าว สามารถตั้งค่าได้ทั้งทางหน้าจอแอล ซีดี (LCD) แบบสัมผัส (Touch screen) และแอปฯ ผ่านการเชื่อมต่อด้วยระบบ Wi-Fi โดยมาพร้อมระบบการเตือนเมื่อผู้ป่วยมี ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ 

          ทั้งนี้ เครื่องดังกล่าวมีต้นทุนการพัฒนาที่ 55,000 บาท ซึ่งถูกกว่าการนําเข้า 3-4 เท่า หรือประมาณ 200,000 – 300,000 บาท โดยปัจจุบันมีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการยื่นจด สิทธิบัตรสู่เชิงพาณิชย์ กับสํานักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง (KRiS) 

          ด้าน รศ. นพ.ประเสริฐ ตรีวิจิตรศิลป์ รองอธิการบดีฝ่ายการแพทย์และเทคโนโลยีสุขภาพ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และผู้อํานวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร (KMCH) กล่าวทิ้งท้ายว่า จากรายงานตัวเลขผู้ป่วยโควิดสะสมในประเทศไทยที่สูงถึง 270,921 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) โดย ส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยอาการหนัก 2,002 ราย ผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 579 ราย และมีผู้เสียชีวิต 61 ราย (ที่มา: ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.), วันที่ 2 กรกฎาคม 2564) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยทุก ๆ 1 พันรายจะมีการใช้เครื่องช่วยหายใจ 30 ราย ทําให้ต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจและเตียงผู้ป่วยวิกฤต จํานวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะขณะนี้ที่มีความขาดแคลนอย่างหนัก อีกทั้งการใช้เครื่องจ่ายออกซิเจนในอัตราการไหล สูงสําหรับผู้ป่วยสถานะสีแดงถึงแดงเข้ม คือ เสี่ยงต่อการหายใจล้มเหลวจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จะยังสามารถพยุงการ หายใจโดยผู้ป่วยสามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง ในรายที่พยาธิสภาพปอดดีขึ้นจะลดระดับการให้ออกซิเจนในรูปแบบของ หน้ากากหรือท่อจมูกตามปกติ ซึ่งลดความจําเป็นของการใช้เตียงผู้ป่วยวิกฤต 

          ดังนั้น หากผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่คิดและพัฒนาโดยนักวิจัยจากภาคการศึกษาไทย ได้รับการ สนับสนุนงบฯ ลงทุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อดําเนินการผลิตและกระจายสู่โรงพยาบาลหรือหน่วยงานสาธารณสุขที่มี ความขาดแคลน จะสามารถช่วยลดมูลค่าการนําเข้าได้จํานวนมาก พร้อมทั้งสร้างโอกาสการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของคน ไทยในอนาคต สําหรับหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ตลอดจนภาคประชาชนที่สนใจ สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน ระบบสาธารณสุขไทยให้รุดหน้ายิ่งขึ้นในภาวะวิกฤตโควิด-19 ผ่านการบริจาคเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาเทคโนโลยี พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง ชื่อบัญชี “มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เพื่อสู้ภัยโควิด” เลขที่ 693-0-35455-4 โดยผู้บริจาคสามารถนําใบเสร็จไปขอลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า 

          ผู้สนใจขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีติดต่อได้ที่ สํานักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง (KRiS) โทร. 086-825 5420, 085-382 0960 ทั้งนี้ กิจกรรมการเปิดตัวพร้อมสาธิต “เครื่องจ่ายออกซิเจน KMITL High Flow” รวมถึง สาธิตการทํางานของเครื่องช่วยหายใจ KNIN แต่ละรุ่นของ สจล. โดยผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ สจล. ได้ที่ https://www.facebook.com/kmitlofficial และ http://kmitl.ac.th 

 

สจล. เปิดตัว “เครื่องจ่ายออกซิเจน KMITL High Flow” พร้อมระบบมอนิเตอร์ทางไกล ราคาถูกกว่านําเข้า 3-4 เท่า

ข่าวสื่อมวลชน เครื่องจ่ายออกซิเจน KMITL High Flow

  1. https://www.beartai.com/news/promotion-news/692612
  2. https://www.prachachat.net/education/news-705765
  3. https://www.matichon.co.th/education/news_2812367
  4. https://campus.campus-star.com/variety/146542.html
  5. https://youtu.be/6OV8BxCFYMU | Bright TV (5กค64)
  6. https://youtu.be/ELBhbqVWtJM | มองมุมใหม่ Five Focus (5กค)
  7. https://www.facebook.com/TV5fivefocus/posts/1669759063217057
  8. https://www.facebook.com/PrachachatOnline/posts/10159467968938814
  9. https://www.facebook.com/techsauceTH/posts/3901926563268286
  10. https://techsauce.co/pr-news/oxygen-concentrator-kmitl-high-flow?fbclid=IwAR1h1361JQ7HYAFNTIUHU56vguKBqMa58e1pymeexpJEc8leuSTCkb_qLyw
  11. https://www.facebook.com/ThupPraden/posts/965309664234032
  12. https://www.facebook.com/MCOTBackbone/videos/983600628868889/
  13. https://techsauce.co/pr-news/oxygen-concentrator-kmitl-high-flow?fbclid=IwAR3Nm8ZKepJHbs1SIuIiz5A7_iEAwKHczTjsd_Ja3Ra-t9C074BqtdDrKok
  14. https://www.techoffside.com/2021/07/kmitl-high-flow-kris/
  15. https://www.techhub.in.th/covid-kmitl/
  16. https://www.facebook.com/techhub.arip/posts/10159861885131995
  17. https://www.mcot.net/view/H8IjqeE4
  18. https://www.facebook.com/Mono29News/posts/1356378561430960
  19. https://www.instagram.com/p/CQ_FrDZr-8D/
  20. https://www.facebook.com/TheStoryThailand/posts/788074645167845
  21. https://www.thestorythailand.com/05/07/2021/33447/?fbclid=IwAR19dRKOneawiim23gYfWrdoATfiLJ2xLiKz5OqTCmx22DQ_iyM9hyHYW7A
  22. https://www.facebook.com/TV5fivefocus/posts/1669759063217057
  23. https://www.facebook.com/medicalfocus.newsmed/posts/229774098979974
  24. https://www.facebook.com/PTMOTech/posts/129837019283872
  25. https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2233971196...
  26. ETV | ข่าวการศึกษา (7กค) https://mail.google.com/mail/u/0/?tab=rm&ogbl#inbox/FMfcgzGkZGmMHXSMDwXzSTjMrGsmTnfn?projector=1
  27. YT: ETV | ข่าวการศึกษา (7กค) https://www.youtube.com/watch?v=soFjoC1-XPA
  28. https://thepattayanews.com/2021/07/07/press-release-kmitl-in-thailand-announces-successful-development-of-kmitl-high-flow-oxygen-concentrator-with-remote-monitoring-capabilities/
  29. http://www.medicalfocusth.com/index.php?page=news.read&type=1&id=1032&fbclid=IwAR065wqIu_tC2nC_TnVT2R-fVcdi_vomY3BtksmNNBVjKAWQ5dztWUkYS3E
  30. YT: NBT WORLD | NEWSLINE (6กค) https://youtu.be/Q-39OdJKw6E
  31. https://news.ch7.com/detail/498130
  32. CH7 | ข่าวดึก (7กค) https://drive.google.com/file/d/1Rrs2r9ClBlwnMqcwbAWVUVddsMwiedGI/view

News from : ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์

Hit : 6716