ยอดเยี่ยม พระจอมเกล้าลาดกระบังติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเอเชีย
ขอแสดงความยินดีกับมหาวิทยาลัยของไทย ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเอเชีย QS University Rankings: Asia 2016 จำนวน 13 มหาวิทยาลัย ได้แก่ อันดับ 45 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับดีขึ้นจาก อันดับ 53 ในปีที่แล้ว อันดับ 61 มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับตกลงจาก อันดับ 44 ในปีที่แล้ว อันดับ 101 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันดับดีขึ้นจาก อันดับ 143 ในปีที่แล้ว อันดับ 104 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับตกลงจาก อันดับ 99 ในปีที่แล้ว อันดับ 129 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันดับดีขึ้นจาก อันดับ 171-180 ในปีที่แล้ว อันดับ 161 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อันดับดีขึ้นจาก อันดับ 171-180 ในปีที่แล้ว อันดับ 165 มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันดับดีขึ้นจาก อันดับ 171-180 ในปีที่แล้ว อันดับ 185 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันดับดีขึ้นจาก อันดับ 191-200 ในปีที่แล้ว อันดับ 251-300 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก้าวขึ้นมาติดอันดับเป็นครั้งแรก อันดับ 251-300 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ก้าวขึ้นมาติดอันดับเป็นครั้งแรก อันดับ 301-350 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ก้าวขึ้นมาติดอันดับเป็นครั้งแรก อันดับ 301-350 มหาวิทยาลัยนเรศวร อันดับตกลงจาก อันดับ 251-300 ในปีที่แล้ว อันดับ 301-350 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อันดับตกลงจาก อันดับ 251-300 ในปีที่แล้ว QS University Rankings: Asia 2016 เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย จำนวน 350 มหาวิทยาลัย โดยสำนักจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกอย่าง Quacquarelli Symonds หรือ QS จากประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้ตัวชี้วัดในการจัดอันดับดังนี้ 1. Academic reputation (30%) ชื่อเสียงด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย ผลสำรวจ จากนักวิชาการทั่วโลก ในสถาบันชั้นนำด้านการวิจัย 2. Employer reputation (20%) ชื่อเสียงจากผู้ประกอบการหรือผู้จ้างงาน (พิจารณาจากทัศนคติของผู้จ้างงานต่อมหาวิทยาลัย โดยให้ผู้จ้างงานระบุชื่อมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด) ผลสำรวจ จากผู้ประกอบการหรือผู้จ้างงานทั่วโลก 3. Faculty/student ratio (15%) อัตราส่วนระหว่าง นักศึกษา ต่อ อาจารย์ประจำ (ใช้วัดความมุ่งมั่นในการสอนของอาจารย์หรือสะท้อนคุณภาพของการเรียนการสอน) 4. Citations per paper (10%) สัดส่วน จำนวนการอ้างอิงต่อผลงานวิจัย ต่อ งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา จากฐานข้อมูลของ Scopus 5. Papers per faculty (10%) สัดส่วน จำนวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ต่อ จำนวนอาจารย์ จากฐานข้อมูลของ Scopus 6 .Staff with a PhD (5%) ตัวชี้วัดใหม่ล่าสุดใน QS University Rankings: Asia 2016 จำนวนอาจารย์ประจำที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก 7 .Proportion of international faculty (2.5%) จำนวนอาจารย์ชาวต่างชาติ 8. Proportion of international students (2.5%) จำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติ 9. Proportion of inbound exchange students (2.5%) จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยน ที่มาจากสถาบันในต่างประเทศ 10. Proportion of outbound exchange students (2.5%) จำนวนนักศึกษาของสถาบัน ที่ไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ ที่มา : http://www.admissionpremium.com/ รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.admissionpremium.com/news/1134 135/ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์