นศ.ไอทีลาดกระบังคว้าชนะเลิศอันดับ 2 และชมเชย NSC 2021
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 และรางวัลชมเชย จากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 National Software Contest (NSC 2021) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีนักเรียน นิสิตและนักศึกษาจากทั่วประเทศ ร่วมส่งผลงานเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก
สำหรับงานในปีนี้ ทีมนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. ได้ส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขัน โดยคว้ามาได้ 2 รางวัลคือ
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2
ในหัวข้อการแข่งขัน : หัวข้อพิเศษ หมวดที่ 32 โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Application) กับผลงานที่มีว่า “เว็บเเอปพลิเคชันแสดงสถานที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยการวิเคราะห์จากข้อมูลสื่อออนไลน์” เว็บแอปพลิเคชันที่สามารถแสดงผลของบริเวณในการเกิดอุบัติเหตุ โดยการวิเคราะห์ผ่านข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์อย่างทันท่วงที จากการใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องจากการสร้างโมเดลจำแนกหมวดหมู่ข้อความ (Text Classification) เพื่อสกัดหาข้อความประเภทอุบัติเหตุจากข้อความทั้งหมด และโมเดลการสกัดคำนามชื่อเฉพาะ (Named Entity Recognitions : NER) ของคำชื่อเฉพาะสถานที่หรือชื่อองค์กรจากข้อความของประเภทอุบัติเหตุ เพื่อทำการแสดงผลบนแผนที่ภายในเว็บแอปพลิเคชัน ให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามเส้นทางการจราจรที่พบอุบัติเหตุและสามารถหลีกเลี่ยงเส้นทางได้ เพิ่มความสะดวกแก่การเดินทางของผู้เดินทางบนท้องถนน
สำหรับเจ้าของผลงานชิ้นนี้คือ นายทิพย สุพจน์ และ นางสาวพัชรีพร นาคเกิด นักศึกษาปริญญาตรีคณะไอทีลาดกระบัง สาขาวิชา Data Science and Business Analytics โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ฐานะโสภณ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
รางวัลชมเชย
หัวข้อการแข่งขัน : ระดับนิสิต นักศึกษา หมวด 12 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ กับผลงานที่มีชื่อว่า “ระบบตรวจสอบเชิงโครงสร้างและสร้างมโนภาพการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (J: Learn)” เว็บแอพลิเคชันซึ่ง เกิดจากนำระบบสำหรับตรวจสอบโค้ดโปรแกรมภาษาจาวา (Java) พร้อมทั้งให้คำแนะนำอัตโนมัติในกรณีที่เกิด ข้อผิดพลาด และระบบการแสดงผลเชิงโครงสร้างของโปรแกรมในรูปแบบของ Class Diagram มารวมกันให้อยู่ใน ลักษณะของ Learning Management System (LMS) เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้งานฟังก์ชันต่างๆได้สะดวกครบ ครันมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับนักศึกษาหรือผู้ที่กำลังศึกษาการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาจาวาด้วยหลักการเขียน โปรแกรมเชิงวัตถุ
สำหรับวิธีการใช้งาน ผู้ใช้สามารถทำการ Login เข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password ที่ได้ทำการ ลงทะเบียนไว้ระบบจะทำการแสดงคอร์สเรียนที่ผู้ใช้ได้ทำการ Enroll พร้อมทั้ง บทเรียนและแบบฝึกหัด ให้ได้ทดลอง เรียนรู้ ทำแบบทดสอบ และวัดผล ในกรณีที่ผู้ใช้ถูกลงทะเบียนไว้ในบทบาท ผู้สอน ระบบจะเปิดให้สามารถ สร้างคอร์ส เรียน บทเรียนรวมถึงแบบทดสอบ ได้อีกด้วย
สำหรับเจ้าของผลงานชิ้นนี้คือ นายชญานิน ลำยอง และ นายณัฐวุฒิ เตชะศรีบูรพา นักศึกษาปริญญาตรีคณะไอทีลาดกระบัง สาขาวิชา Information Technology โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธราวิเชษฐ์ ธิติจรูญโรจน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา